สีที่มีบริบทของสังคมไทย

โดยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยกรอบแนวคิดเกี่ยวกับคำเรียกสีของเบอร์ลินและเคย์ พบว่า…

1) คำเรียกสีและการรับรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ทำให้เกิดภาษาของแต่ละภาษาขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่า คำเรียกสีเปรียบเสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นการแบ่งประเภทสีของวัฒนธรรมนั้นๆ ในงานวิจัยของเบอร์ลินและเคย์ ได้กล่าวถึงความสนใจในข้อสรุปของคอนคลิน ที่ว่า ภาษาแต่ละภาษานั้นมีลักษณะการจำแนกสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย แต่ละภาษาต่างก็มี ลักษณะเฉพาะตัว เบอร์ลินและเคย์จึงได้ทำการวิจัยเรื่องคำเรียกสี เพื่อพิสูจน์ข้อสรุปนี้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า คำเรียกสีนั้นเป็นสิ่งสากลในทุกภาษา ไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะ


2) คำเรียกสีในสังคมไทย ปัจจุบันสามารถสะท้อนการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคม เช่น การแต่งตัว ชุดเสื้อผ้า การจัดบ้าน และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน


3) การรับรู้คำเรียกสี มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งการรับรู้สีก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมสังคมด้วย ถ้าวัฒนธรรมทางสังคมมีความเรียบง่าย ไม่มีการใช้เทคโนโลยีมากในชีวิตประจำวันจะมีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานน้อย ในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีวัฒนธรรมที่ซับซ้อน มากขึ้นและมีการใช้เทคโนโลยีมากจะมีจำนวนคำเรียกสีมากขึ้นด้วย

Lotus In Hand Image Of Buddha

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save